แน่นอนว่าในการเล่นเกมส์ทั้งหลายย่อมมีกระดานคะแนนเพื่อแสดงให้เห็นถึงผู้เล่นที่กำลังคะแนนนำผู้เล่นทั้งหมดที่ทำการแข่งขันอยู่ ซึ่งการนำมาปรับใช้ในการตลาดได้ผ่านการโพสต์ชื่อ และคะแนนของผู้เข้าร่วมกิจกรรมของแบรนด์ เพื่อเป็นการสร้างการส่งเสริมการแข่งขันในกิจกรรมนั้น ๆ มากขึ้น
มีกระดานคะแนน ก็จำเป็นต้องมีคะแนน ซึ่งอาจจะเป็นคะแนนสะสมจากการชนะกิจกรรม หรือที่เราเห็นกันบ่อย ๆ ก็จะเป็นการเก็บคะแนนจากการซื้อสินค้าตามเงื่อนไข โดยคะแนนเหล่านั้นจะสามารถนำไปใช้ในการแลกส่วนลด หรือแลกของฟรีในกิจกรรมได้
ด่านภายในเกมส์จะเหมือนกับการเล่นผ่านอุปสรรคหนึ่งไปเจอกับอุปสรรคอีกแบบที่ต่างออกไป หรือเพิ่มระดับความยากขึ้น ซึ่งในทางของการตลาดนั้น อาจหมายถึงการสะสมคะแนนที่เพิ่มมากขึ้นจากการเข้าร่วมกิจกรรม หรือสะสมจากการซื้อของต่าง ๆ เพื่อแลกรางวัลที่ใหญ่ขึ้น คุ้มค่ามากขึ้นได้
เกมส์หลายเกมส์ในสมัยก่อน จะมีเวลาจำกัดในการเล่น เพื่อเป็นการท้าทายให้ผู้เล่นเล่นจบให้ทันในเวลาที่กำหนด ในกิจกรรมทางการตลาดก็เช่นกัน จะมีการตั้งระยะเวลาของกิจกรรมที่จัดไว้ อาจเป็นเวลา 1 เดือน 2 เดือน 3 เดือน แตกต่างกันไป ซึ่งการทำแบบนี้ก็เป็นเหมือนการกระตุ้นและท้าทายให้ลูกค้าทำกิจกรรมได้สำเร็จภายในระยะเวลาที่กำหมด
จะเห็นได้ว่า การตลาดในรูปแบบของ Gamification จะมีองค์ประกอบหลายอย่างที่จะกระตุ้นให้ลูกค้าต้องการที่จะทำกิจกรรม ทั้งการแสดงคะแนนของคนอื่น เวลาที่จำกัด หรือรางวัลที่ดีมากขึ้น โดยกลยุทธ์การตลาดในรูปแบบนี้ ส่วนมากจะมีเป้าหมายเพื่อการสร้างความ royalty ของลูกค้าต่อแบรนด์นั้น ๆ และเป็นเหมือนการสร้างการเชื่อมต่อกันของแบรนด์กับกลุ่มลูกค้าผ่านกิจกรรมที่สร้างความสนุก
Gamification เป็นอีกกลยุทธ์นึงที่สำคัญ ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้กับการทำการตลาดเพื่อโปรโมท ส่งเสริมแบรนด์ได้หลากหลายรูปแบบ อาจบอกได้ว่า เป็นอีกหนึ่งวิธีที่รู้ไว้ ก็ใช้ได้กันอีกนานเลย
ขอบคุณข้อมูลจาก : everydaymarketing, bazaarvoice, brame